Skip to main content

แจ้งลูกค้าที่ใช้บริการกับทางเรา ทางทีมงานจะทำการอัพเกรดระบบNetwork

แจ้งลูกค้าที่ใช้บริการ Colocation – Dedicated – VPS – WebHosting วง IP: 27.254.46.XXX ทุกท่าน พรุ่งนี้ วันที่ 18 เมษายน 2558 เวลาประมาณ 13.00-15.00น. ทางทีมงานจะทำการอัพเกรดระบบ Network และติดตั้ง/เซ็ตอัพระบบ Switching CISCO ตัวใหม่ ลูกค้าไม่สามารถใช้งานไม่ได้ในเวลาดังกล่าว ขออภัยในความไม่สะดวกครับ

http://www.ihotvps.com
http://www.onairnetwork.net

IP Spoofing คืออะไร มีการโจมตีอย่างไรบ้าง !

จาก ed@mn // thaiadmin.org

IP Spoofing เป็นรูปแบบการปลอมแปลง IP เพื่อเข้าสู่ระบบ โดยอาศัยช่องโหว่ในการเชื่อมต่อที่มีการตรวจสอบสิทธิเพียงครั้งเดียว
วิธี การของ IP Spoofing จะประกอบด้วยโฮสท์เป้าหมาย (target host) และโฮสท์ที่ทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบโดยการพิสูจน์ตนด้วยชื่อผู้ใช้ (login id) และรหัสผ่าน เมื่อการพิสูจน์ตนเรียบร้อยแล้ว โฮสท์ที่ทำการล็อกอินจะเป็นโฮสท์ที่เชื่อถือได้ (trusted host) โดย target host จะยอมรับการเชื่อมต่อจากโฮสท์ที่มีหมายเลข IP นี้โดยไม่ต้องพิสูจน์อีก

ผู้ บุกรุกจะตรวจสอบว่าการล็อกเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว และเกิด trust relationship ขึ้น ผู้บุกรุกจะทำการโจมตี trusted host เพื่อไม่ให้สามารถทำการเชื่อมต่อได้ชั่วคราว และใช้ช่วงเวลานี้ติดต่อกับ target host โดยระบุหมายเลข IP ว่าเป็นการเชื่อมต่อมาจาก trusted host ซึ่งจะทำให้ target host ยอมรับการเชื่อมต่อนั้น

การทำให้ trusted host ไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ก็เพื่อหยุดการติดต่อกับ target host วิธีการในการทำให้ trusted host ไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้จะใช้วิธีการ denial of service หรือ sync flooding
วิธีการ sync flood จะใช้จุดอ่อนของขั้นตอนในการเชื่อมต่อ โดยในการเริ่มต้นการเชื่อมต่อทุกครั้ง เครื่องที่ทำการติดต่อจะทำการส่งสัญญาณ sync ไปยังเครื่องปลายทางเพื่อร้องขอการติดต่อ เครื่องปลายทางจะตอบกลับด้วยสัญญาณ ack และ sync เพื่อบอกให้กับเครื่องที่ต้องการติดต่อว่ายอมรับการติดต่อ จากนั้นเครื่องต้นทางจะส่งสัญญาณ ack เพื่อบอกเครื่องปลายทางว่าได้รับสัญญาณ sync แล้ว และจะเริ่มทำการส่งข้อมูล เรียกวิธีแบบนี้ว่า three-way handshake โดยในการทำ sync flood เครื่องต้นทางจะส่งสัญญาณ sync ไปหาเครื่องปลายทางอย่างต่อเนื่อง และไม่ทำการตอบรับในขั้นตอนที่ 3 (ack/ack) ทำให้เครื่องปลายทางรอการตอบกลับจนไม่สามารถติดต่อกับโฮสท์อื่นได้ หรือบางครั้งอาจจะทำให้ระบบค้างเลยก็ได้ เนื่องจากเกิดอินเทอร์รัพของการ์ดเน็ตเวิร์คมากเกินไป

การปลอมเป็น trusted host ในขณะที่ trusted host ตัวจริงไม่สามารถติดต่อได้ จะเริ่มจากการส่งสัญญาณ sync ที่ถูกทำให้เหมือนว่าส่งมาจาก trusted host เครื่อง target host จะส่งสัญญาณ ack และ sync ตอบกลับ ซึ่งสัญญาณที่ตอบกลับจะส่งไปที่ trusted host ตัวจริง (ซึ่งไม่สามารถรับข้อมูลได้) และ attack host จะต้องทำการส่ง ack ไปแทนเสมือนกับว่าเป็นการตอบกลับจาก trusted host
การส่งสัญญาณ sync และการตอบรับ ack จะใช้รูปแบบของ sequence number เช่นถ้าสัญญาณ sync มี sequence number เป็น 158 สัญญาณ ack ที่ตอบกลับจะมี sequence number เป็น 159 ทำให้โฮสท์สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสัญญาณ ack จากสัญญาณ sync ใด ความยากของการทำ IP Spoofing อยู่ตรงที่การหา sequence number ที่เหมาะสมในการตอบกลับเพื่อให้ target host เชื่อว่าเป็นการตอบกลับจาก trusted host ซึ่งมักจะใช้วิธีการของสนิฟเฟอร์เข้ามาช่วยในส่วนนี้
การ ตรวจจับ IP Spoofing สามารถทำได้โดยการใช้เราเตอร์ในการตรวจสอบด้วยคุณสมบัติของ packet filtering ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ กรณีที่แพ็กเก็ตส่งเข้ามาในเน็ตเวิร์ค และกรณีที่แพ็กเก็ตส่งออกไปจากเน็ตเวิร์ค
กรณีแรก เราเตอร์จะทำการตรวจสอบว่าแพ็กเก็ตนั้นมีต้นทาง (source address) จากที่ใด ถ้าแพ็กเก็ตนั้นมีต้นทางจากภายในเน็ตเวิร์คแต่ถูกส่งมาจากภายนอกเน็ตเวิร์ค แสดงว่ามีการปลอม source address เกิดขึ้น เราเตอร์ก็จะทำการบล็อกไม่ให้แพ็กเก็ตนั้นเข้ามา ส่วนกรณีที่สองจะทำการตรวจสอบแบบเดียวกับกรณีแรก ซึ่งจะเห็นว่าการใช้เราเตอร์ยังไม่สามารถป้องกันได้ในกรณีที่เกิดการทำ IP Spoofing ในเน็ตเวิร์คเดียวกัน

ส่วนการป้องกันการทำ sync flooding ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่ป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดสัญญาณ sync ในปริมาณที่มากกว่าปกติ

อ้างอิงจาก www.ite.kmitl.ac.th

How is a bridge similar to a switch?

How is a bridge similar to a switch?

Both look at the MAC address and either forward or drop the frame.

Bridge กับ Switch มีความสามารถในกับจัดการ Traffic ในชั้น Data Link Layer คล้ายกัน โดยใช้ Bridging Table เป็นตัวคำนวณเส้นทางเดินของข้อมูล แต่ Bridge ใช้ Software ในการทำงาน จึงทำงานได้ช้า และ สามารถขยาย Port ได้เพียง 16 เท่านั้น Switch ใช้ Hardware ในการทำงาน จึงทำงานได้เร็วกว่า Bridge สามารถขยาย Port ได้ไม่จำกัด ปัจจุบัน จึงทำให้ Bridge ไม่ได้รับความนิยม

Switch ก็คือ การรวมกันของ bridgeกับhub นั้นเอง

WE502 network

[Network] question & answer ?

Q: Which type of network application requires more elaborate software: connectionoriented
or connectionless? Explain.

A: Connection Oriented ใช้มากกว่า
เพราะ
Connection-Oriented ต้องสร้าง connection ทำให้เสียเวลาในตอนเริ่มต้นทำการส่ง หลังจากนั้นจึงเริ่มส่งได้ ข้อดีคือมีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างรูปแบบการส่งคือ TCP
Connectionless ไม่มีการสร้าง connection เหมือนกับแบบ Connection-oriented สามารถทำการส่งได้เลย ทำได้รวดเร็ว แต่ไม่มีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางถูกต้อง ตัวอย่างรูปแบบการส่งคือแบบ UDP

Q: What are the differences between a centralized routing and a distributed routing?
A:
การค้นหาเส้นทางจากโหนดศูนย์กลาง (Centralized Routing) จะกำหนดให้โหนด ซึ่งทำหน้าที่ในการเลือกเส้นทางเดินข้อมูลให้กับโหนดอื่นในระบบเครือข่าย โหนดนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการบริหารเครือข่ายการค้นหาเส้นทาง ซึ่งจะต้องเก็บตารางเส้นทางเดินข้อมูลและจัดการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารทั้ง หมดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โหนดอื่นที่เหลือจะต้องรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานะการทำงานของตนเอง เช่น ปริมาณข้อมูลที่รับเข้ามา ปริมาณข้อมูลที่ส่งออกไปและกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้แก่โหนดศูนย์กลางเป็นระยะ ดังนั้นโหนดศูนย์กลางจึงเป็นที่รวบรวมข้อมูลสถานะการทำงานทั้งหมดที่เกิด ขึ้นบนระบบเครือข่าย จึงทราบว่าส่วนใดในระบบเครือข่ายที่มีการใช้งานมากหรือน้อยเพียงใด
ข้อด้อยที่สำคัญของการทำงานแบบศูนย์กลางคือ ถ้าตำแหน่ง (สถานที่ที่ตั้งที่ใช้งานจริง) ของโหนดศูนย์กลางไม่อยู่ตรงกลางระบบแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางและสถานะการทำงานของโหนดที่อยู่อีกฟากหนึ่งจะต้องใช้ เวลาพอสมควรกว่าที่จะเดินทางมาถึงโหนดศูนย์กลาง ระยะเวลาที่ช้าเกินไปนี้อาจทำให้ข้อมูลในตารางเส้นทางไม่สอดคล้องกับความ เป็นจริงที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น ประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายก็จะลดลง ปัญหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ถ้าโหนดศูนย์กลางเกิดหยุดทำงาน โหนดอื่นในระบบจะไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้

การค้นหาเส้นทางที่ตัวโหนดเอง (Distributed Routing) กำหนดให้แต่ละโหนดจัดการเก็บ ตารางเส้นทางไว้ โดยแต่ละโหนดมีหน้าที่ส่งข้อมูลสถานะการทำงาน (เช่นเดียวกับแบบศูนย์กลาง) ไปยังโหนดข้างเคียงของตนเองทุกโหนด ข้อมูลในตารางเส้นทางจึงเป็นเพียงข้อมูลสถานะการทำงานย่อย และเนื่องจากจำนวนโหนดข้างเคียงจะมีอยู่ไม่มากนักทำให้แต่ละโหนดสามารถปรับ ปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การที่โหนดหนึ่งหยุดทำงานก็จะไม่มีผลต่อการค้นหาเส้นทางของโหนดอื่น ในระบบนี้ แม้ว่าจะมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น (เพื่อแจ้งสถานะการทำงาน) แต่ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ก็ถือว่าคุ้มค่า
สรุป
ความแตกต่างระหว่าง Centralized Routing กับ Distributed Routing
Centralized Routing มีการเก็บข้อมูลไว้ที่โหนดเดียว เวลาระบบโหนดศูนย์กลางล้มเหลวของสัญญาณ ก็จะทำให้โหนดอื่นใช้งานไม่ได้ไปด้วย
Distributed Routing โหนดทุกโหนดเป็นศูนย์กลางเอง ระบบนี้แทบที่จะไม่มีการล้มเหลวของสัญญาณแน่นอน แต่ระบบมีการใช้ทรัพยากรของระบบในการจัดการปริมาณของข้อมูลสูงมาก

Credit: http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson6_2.php

การสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented และ Connectionless

การสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented และ Connectionless

การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) เครือข่ายอินเตอร์เน็ตบางครั้งจึงถูกเรียกว่า เครือข่าย IP (IP Netwrok) โดย IP จะโปรโตคอลในระดับที่ 3 ของ OSI Model หรือ Network Layer โดยจะมีโปรโตคอลระดับสูง(ระดับที่ 4 ของ OSI Model คือ Transport Layer) ที่ทำงานอยู่เหนือระดับ IP อีกที คือ TCP (Transmission Control Protocol) และ UDP (User Datagram Protocol)

TCP จะเป็นการสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented คือมีลักษณะเหมือนการส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ คือผู้ใช้ต้องสร้าง connecttio (หมุนโทรศัพท์) แล้วถึงส่งข้อมูล (พูดโทรศัพท์) และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ยกเลิก connection (วางสายโทรศัพท์) การส่งข้อมูลแบบนี้ เปรียบเสมือนส่งของผ่านท่อ คือผู้ส่งส่งของทีละชิ้นไปตามท่อ แล้วผู้รับซึ่งอยู่อีกปลายหนึ่งของท่อก็รับของทีละชิ้นออกจากท่อ ตามลำดับที่ของถูกส่งมา

TCP ซึ่งเป็นแบบ Connection-Oriented นี้ จะต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นทำการสื่อสารค่อนข้างนาน การรับส่งข้อมูลจะมีความถูกต้อง และรับรองการได้รับของอีกฝ่ายได้แน่นอน โดยผู้ส่งจะรอรับคำยืนยันว่า “ได้รับแล้ว” ของข้อมูลชุดที่แล้วจากผู้รับเสียก่อน จึงค่อยดำเนินการส่งข้อมูลชุดต่อไป เหมาะกับข้อมูลปริมาณมากๆ และมีความสำคัญ ตัวอย่างการใช้งานที่ใช้ TCP เช่น E-mail , World Wide Web และ FTP (File Transfer Protocol) เป็นต้น

สำหรับแบบ UDP จะเป็นการสื่อสารข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า Connectionless แบบนี้มีลักษณะคล้ายการส่งจดหมาย  ในระบบไปรษณีย์ กล่าวคือข้อมูลหน่วยย่อย (จดหมายแต่ละฉบับ) มีที่อยู่ปลายทางของผู้รับ และแต่ละหน่วยข้อมูลจะถูกส่งต่อเป็นช่วงๆ (ผ่านที่ทำการไปรษณีย์แต่ละพื้นที่) จนถึงจุดหมาย การส่งข้อมูลลักษณะนี้แต่ละหน่วยข้อมูลอาจมีเส้นทางต่างกันเล็กน้อย และเป็นไปได้ว่าจดหมายที่ส่งทีหลังอาจถึงปลายทางก่อน

แบบ Connectionless นี้ การเริ่มต้นส่งสามารถทำๆได้รวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลา สร้าง connection แต่ก็ไม่สามารถรับรองการได้รับข้อมูลของอีกฝ่าย เหมาะกับการส่งข้อมูลเพียงเล็กน้อย ส่งเพียงครั้งเดียวก็เสร็จสิ้น หรือข้อมูลที่ไม่สำคัญมาก สามารถสูญเสียได้บางส่วน ตัวอย่างงานที่ใช้ UDP เช่น สัญญาณ   Video , เสียง ซึ่งข้อมูลสามารถหายไปบางส่วนได้

สรุป

  • TCP เป็นแบบ Connection-Oriented ต้องสร้าง  connection เสียเวลาตอนเริ่มต้น หลังจากนั้นจึงเริ่มส่งได้ มีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง
  • UDP เป็นแบบ Connectionless ไม่มีการสร้าง connection ส่งได้เลย ทำได้รวดเร็ว แต่ไม่มีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางถูกต้อง

Reference : ภัทระ เกียรติเสวี , สร้างอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ด้วย Linux กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน , 2542 . 436 หน้า.

Credit: http://www.sa.ac.th/e-learning/internet/connection.html

อินเทอร์เน็ต (Internet) คืออะไร

อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)

อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย

ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User’s Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. …)

ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ไปอบรมเรื่อง Internet คืออะไร ที่โรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัย ลำปาง
(หากมีสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอได้ชี้แนะมายังทีมงาน เราจะรีบตรวจสอบ และแก้ไขในทันที – E-Mail)

ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)

ประวัติความเป็นมา

อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense – DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation – NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา


ข้อมูลจาก http://www.computerhistory.org/exhibits/internet_history/
และ http://www.sri.com/about/timeline/arpanet.html

Arpanet : The Internet as you know it today, and through which you are accessing this information, had its beginnings in the late 1960s as the “ARPANET”. Started by the U.S. Department of Defense Advanced Research Projects Agency (now DARPA), the entire network consisted of just four computers linked together from different sites to conduct research in wide-area networking. SRI, then known as the Stanford Research Institute, hosted one of the original four network nodes, along with the University of California, Los Angeles (UCLA), the University of California, Santa Barbara (UCSB), and the University of Utah. The very first transmission on the ARPANET, on 29th October 1969, was from UCLA to SRI.
Credit: http://www.thaiall.com

Translate »